จะเห็นได้ว่าการอัปเดตของ Google Search นั้นเกิดขึ้นบ่อยครั้งในแต่ละปีและในบางปียังถูกอัปเดตไปมากกว่าพันครั้ง ทำให้นักทำ SEO ทุกๆคนจำเป็นต้องติดตามและเฝ้าดูอยู่ตลอดเวลา เพราะทุกครั้งที่เกิดการเปลี่ยน ปรับปรุง แก้ไขอะไรก็ตามแต่ ล้วนแล้วสำคัญต่อการทำ SEO ไม่มากก็น้อยทั้งนั้น นี่จึงเป็นสาเหตุที่เราต้องใส่ใจและอย่าหลงลืมตรวจเช็คทุกๆการอัปเดตว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
การอัปเดตของ Google Search สำคัญอย่างไร
จะเห็นได้ว่าการอัปเดตของ Google Search นั้นเกิดขึ้นบ่อยครั้งในแต่ละปีและในบางปียังถูกอัปเดตไปมากกว่าพันครั้ง ทำให้นักทำ SEO ทุกๆคนจำเป็นต้องติดตามและเฝ้าดูอยู่ตลอดเวลา เพราะทุกครั้งที่เกิดการเปลี่ยน ปรับปรุง แก้ไขอะไรก็ตามแต่ ล้วนแล้วสำคัญต่อการทำ SEO ไม่มากก็น้อยทั้งนั้น นี่จึงเป็นสาเหตุที่เราต้องใส่ใจและอย่าหลงลืมตรวจเช็คทุกๆการอัปเดตว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
และสาเหตุที่ Google ต้องทำการอัปเดตอยู่ตลอดเวลานั้นมาจากการที่ต้องตรวจสอบข้อมูลจากหน้าเว็บนับพันล้านจากในประเทศต่างๆทั่วโลก โดยมีภาษาที่ถูกที่พิมพ์ลงไปในช่องค้นหามากกว่า 150 ภาษา สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การทำงานของ Google Search นั้นจำเป็นต้องถูกพัฒนาและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับทั้งภาษา บริบทของประเทศนั้นๆไป
ซึ่งผลลัพธ์จากการแก้ไขและอัปเดตอยู่ตลอดเวลาก็ทำให้ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาจากผลประเมินของทาง Google Search ได้ลดจำนวนผลลัพธ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคำค้นหาของผู้ค้นลงได้มากถึง 40% นี่จึงถือว่าการอัปเดตและปรับปรุงระบบอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องที่ดีแก้ผู้ใช้งานโดยตรง เพียงแต่ว่าสำหรับนักทำ SEO ไม่ว่าจะมือใหม่หรือมือเก๋าจำเป็นต้องเรียนรู้ และอัปเดตข้อมูลเหล่านั้นอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไขเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับทุกๆการอัปเดตและช่วยให้อันดับของเว็บไซต์คุณดีขึ้นไปอีก
——————-
การอัปเดตของ Google Search มีผลต่อการทำ SEO อย่างไร
การอัปเดตของ Google Search นั้นบ่อยครั้งส่งผลกระทบโดยตรงต่ออันดับของหน้าเว็บไซต์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำ SEO อยู่ตลอดเวลา หากยังมองไม่เห็นภาพเดี่ยวผมจะหยิบยกการอัปเดตของ Google Search หรือ Google Algorithm บางอันมาให้ดูกันว่ามันมีผลต่อ SEO อย่างไร
Google passage
การอัปเดตใหม่ในส่วนของ Passage จาก Google นั้น จะช่วยให้ผู้ใช้งานทำการค้นหาในส่วนของเนื้อหาที่ยากๆและยาวๆได้ง่ายขึ้น โดยจะทำการนำคำค้นหาที่ผู้ใช้งานใส่ลงไป จับคู่กับเนื้อหาต่างๆของแต่ละย่อหน้า ในเว็บไซต์ส่งผลให้การแสดงผลลัพธ์ของ Google Search นั้นเปลี่ยนแปลงจากแบบเดิมที่มักจะนำเสนอ SEO Index ที่มีคะแนนสูงๆเท่านั้น
นี่จึงทำให้ผู้คนที่ทำ SEO เริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเขียน เพราะว่าเนื้อหาที่สั้นและไม่หลากหลายอาจทำให้ระบบ Passage ไม่แสดงผลหน้าเว็บของเราแก่ผู้ค้นหา ในปัจจุบันผู้คนจึงมักเขียนบทความหรือเนื้อหาต่างๆให้มีความยาวและหลากหลายมากขึ้น เพื่อที่ระบบ Passage Ranking นั้นจะนำหน้าเว็บของคุณมาแสดงสำหรับการค้นหาเหล่านี้ และแน่นอนว่าหากคุณมีเนื้อที่ยาวและดีพอ อันดับ SEO ของคุณก็จะดีตามอย่างแน่นอน
Google Panda
ในปี 2011 ได้มีการเปิดตัวระบบอัลกอริทึ่มที่จะทำการตรวจสอบข้อมูลของเนื้อหาในแต่ละหน้าเว็บเพื่อทำการลงโทษสำหรับเว็บไซต์ที่กระทำผิดต่อนโยบายของ Google Search มีชื่อเรียกที่รู้จักกันดีในวงการคือ Google Panda นั่นเอง
โดยเจ้าตัว Google panda นี้หากพบเจอเนื้อหาเว็บที่ไม่มีความน่าเชื่อถือและฝ่าฝืนกฎของ Google Search ก็จะทำการลงโทษโดยการลดคะแนน SEO หรือลดการแสดงผลการค้นของเว็บไซต์นั้นทันที โดยปัจจัยส่วนใหญ่ที่ทำให้เว็บไซต์โดน Google panda จะมีดังต่อไปนี้
- เนื้อหาในหน้าเว็บต้องเขียนขึ้นเอง ไม่ Copy เนื้อหามาจากเว็บไซต์อื่นๆ
- สร้างหน้าเว็บที่มีเนื้อหาซ้ำกันเป็นจำนวนมาก
- เนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกันกับ Keyword ในหน้าเว็บ
- การสแปมหรือยัดเยียด Keyword ที่จะทำ SEO ลงไปในหน้าเว็บเป็นจำนวนมากเกินไป
- เนื้อหาในหน้าเว็บมีน้อยเกินไปและไม่มีความน่าเชื่อถือ
Google Penguin
Google penguin หรือ Penguin Algorithm ถูกอัปเดตเข้ามาใหม่ในปี 2012 หลัง Panda 1ปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำการลงโทษผู้ฝ่าฝืนนโยบายของ Google Search เช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าเจ้าตัว Penguin นี้จะทำการตรวจในส่วน off-page ของเว็บไซต์เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ถึงแม้ทั้งสองอัลกอริทึ่มนี้จะมีหน้าที่ในการตรวจสอบเหมื่อนกัน แต่ก็ทำงานต่างกันนั่นเอง โดยปัจจัยที่จะถูกลงโทษจาก Google penguin และทำให้คะแนน SEO ของเว็บไซต์คุณลดแบบฮวบจะมีดังต่อไปนี้
- ทำการสร้าง Backlink หรือซื้อมาจากเว็บไซต์ที่ไม่มีคุณภาพ
- Backlink ที่มาจากเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้นมาเพื่อ
- ทำ Spam Anchor text ที่นักทำ SEO สายดำชอบทำ
- มี backlink ที่มาจากเว็บถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการทำ SEO โดยเฉพาะ จำพวก PBN (Private Blog Network)
“Matt Cutts อดีตหัวหน้าทีมด้าน Web spam ของ Google ได้เคยออกมาพูดถึงเหตุผลที่เปิดตัวใช้งาน Google penguin ว่าเจ้าอัลกอริทึ่มนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจัดการกับ สแปมเมอร์, Spam Web และ นัก SEO สายดำ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘Black Hat SEO’ นั่นเอง”
Google Hummingbird
ถูกอับเดตเข้าเมื่อปี 2013 โดยตัวอัลกอริทึ่มนี้จะทำหน้าที่ในการอ่านข้อความของการค้นหาในเชิงประโยค และแสดงผลการค้นหาให้ตรงตามความต้องการของผู้ค้นหามากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น หากเราใส่คำค้นหาว่า “โทรศัพท์ iphone 12” ลงไป การแสดงผลลัพธ์แบบเก่าจะแสดงข้อมูลของ Keyword หลักๆเท่านั้น อย่างในหัวข้อนี้หน้าค้นหาก็แสดงเป็นร้านค้าต่างๆที่ขายโทรศัพท์ iphone12 ที่มีคะแนน SEO ดีเท่านั้น แต่เมื่อ Google Search ใช้งานอัลกอริทึ่ม Hummingbird แล้ว ผลลัพธ์ในอันดับแรกของการค้นหาจะแสดงเป็นสินค้าจากเว็บไซต์ Apple ทันที
Mobile Friendly
สำหรับ Mobile friendly นับได้ว่าเป็นอีกการอับเดตที่เมื่อถูกใส่เข้ามาแล้ว ทำให้ผลต่อการจัดอันดับถูกเปลี่ยนแปลงไปเยอะพอควร ด้วยเหตุที่ตัวอัลกอริทึ่มนี้จะให้คะแนนแก่เว็บไซต์ที่เป็นมิตรต่อการใช้งานทุกๆแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น Pc, Laptop, Taplet และโทรศัพท์มือถือเป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ทำให้นักพัฒนาเว็บไซต์และนักทำ SEO ทุกๆคนต้องมาใส่ใจถึงการรองรับการใช้งานของโทรศัพท์มือถือมากยิ่งขึ้น เพราะหากเว็บไซต์ของคุณเป็นมิตรต่อโทรศัพท์แค่ไหน คะแนนสำหรับการจัดอันดับการค้นหาของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือยิ่งดีขึ้นมากเท่านั้น
Mobile First Index
หากพูดถึง Mobile friendly แล้วสิ่งต่อที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ Mobile First Index ที่ถูกอัปเดตขึ้นมาใหม่ในปี 2019 เป็นอัลกอริทึ่มที่จะเน้นไปที่การตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของคุณสามารถใช้งานได้ดีในอุปกรณ์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือหรือไม่ และหากเว็บไซต์ของคุณถูกตรวจสอบแล้วว่าเป็นมิตรต่อโทรศัพท์มือถือจริงๆ อันดับในเว็บไซต์ของคุณก็เพิ่มมากขึ้น แต่หากเว็บไซต์ของคุณยังรองรับการใช้งานของโทรศัพท์มือถือได้ไม่ดีพอก็ยังส่งผลให้เว็บไซต์ของคุณถูกลดอันดับในการค้นหาหรือ SERP ลงได้
โดยปัจจัยพื้นฐานในการตรวจสอบของ Mobile First Index จะมีดังนี้
- แต่ละหน้าเว็บมีความพอดีเมื่อดูผ่านจอมือถือ
- ความเร็วในการโหลดของเว็บไซต์ผ่านมือถือ
- URL ที่ใช้นั้นเป็นแบบแยกกับที่ใช้ใน Desktop ไหม
- จัดทำส่วนของ Title และ Description ให้มีจำนวนที่เหมาะสม ดังนี้
- ส่วนของ Title ไม่ควรมีความยาวเกิน 60 ตัวอักษร
- Description ไม่ควรมีความยาวเกิน 160 ตัวอักษร
**นี่เป็นเพียงปัจจัยพื้นฐานที่ Mobile first index จะตรวจสอบเท่านั้น หากสนใจในเรื่องนี้สามารถอ่านต่อได้ที่ (เขียนหัวข้อนี้ แล้วทำinternal)
Rankbrain
Rankbrain นับได้ว่าเป็น Machine Learning หรือ AI (Artificial Intelligence) จากทาง Google ทำหน้าที่ในการตรวจสอบประมวลผลคำค้นหาของผู้ใช้งาน Google Search โดยจะตรวจสอบทั้งในด้านประวัติการค้นหาของผู้ใช้ และตำแหน่งของผู้ใช้งาน หากมีความเกี่ยวข้องกับคำค้นหาก็จะทำการเรียบเรียงหน้าเว็บไซต์ที่จะปรากฏขึ้นมาใหม่ ทำให้ตัวผู้คนหาได้รับข้อมูลตรงตามความต้องการจริงๆ
ยกตัวอย่างเช่นหากผมใส่คำค้นหาว่า “เย็นนี้ไปกินบุปเฟ่ที่ไหนดี” อัลกอริทึ่มของ Google ก็จะตรวจสอบความเกี่ยวข้องของ Keyword และแสดงผลลัพธ์ของเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมเยอะ ความน่าเชื่อถือสูงมาให้ใช่ไหมครับแต่นั่นเป็นแบบเก่า แทนที่เมื่อเราทำการค้นหาแล้วอัลกอริทึ่มก็คัดแยกเว็บไซต์มาให้ Rankbrain ก็มาทำงานต่อในจุดนี้เพื่อตรวจสอบประวัติการเข้าชมเว็บว่าเคย Search ถึงร้านไหนเป็นพิเศษไหม ตำแหน่งที่อยู่ของเราปัจจุบันอยู่ตรงไหน และหลังจากนั้นจึงแสดงข้อมูลที่อิงกับสถานการณ์ผู้ใช้งานได้จริงมากยิ่งขึ้น อย่างตัวอย่างที่พูดถึงไปนี้ผลลัพธ์ที่ผมได้แทนที่จะเป็นร้านบุปเฟ่ดังๆทั่วประเทศกลายเป็นร้านบุฟเฟ่ใกล้บ้านผมที่พอมีชื่อเสียงแทนครับ
หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง หากผมเป็นนักช็อปชอบซื้อของจาก Shopee อยู่บ่อยครั้งหรืออาจจะทุกวันเลยก็ได้ ทำให้ประวัติการค้นหาของผมนั้นเต็มไปด้วยการเข้าเว็บ Shopee สิ่งนี้จะทำให้เมื่อผมค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าต่างๆเช่น หาซื้อเก้าอี้สุขภาพ, โทรศัพท์มือถือราคาถูก, โต๊ะคอมพิวเตอร์และอื่นๆ ผลลัพธ์ของการค้นหาในหน้าแรกส่วนใหญ่ก็จะมาจากหน้าเว็บ Shopee แทนที่จะเป็นผู้ค้ารายอื่นนั่นเอง
ส่วนสาเหตุที่ Rankbrain นับได้ว่าเป็น Machine Learning หรือ Ai นั้นก็มาจากการที่ตัวมันเองยังเรียนรู้ว่าข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้ออกมาให้ผู้ใช้งานแต่ละรายนั้นมีผลตอบรับอย่างไร และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมแก่ผู้ใช้งานในครั้งถัดๆไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการค้นหาที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานจริงๆนั่นเอง
Bert (Bidirectional Encoder Representations from Transformers)
Bert ย่อมาจาก (Bidirectional Encoder Representations from Transformers) มีหน้าในการเข้าใจคำค้นหาใน Google Search ให้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด เนื่องจากว่าหลายๆครั้งคำค้นหาที่ผู้ใช้งานใส่ลงไปใน Google Search นั้นไม่ได้เป็นเพียง Keyword เดียว เช่น กระเป๋า, รองเท้า, โทรศัพท์เป็นต้น
แต่ผู้ใช้งานส่วนมากต้องการบอกจุดประสงค์ในการหาข้อมูลลงไปด้วย เช่น กระเป๋าราคาถูกมีแบรนด์ใดบ้าง, รองเท้ารุ่นใหม่ซื้อที่ไหนดีm คอมพิวเตอร์ใส่การ์ดจออะไร และอื่นๆอีกมาก ด้วยเหตุนี้อัลกอริทึ่มในการอ่านภาษาเหล่านี้ของ Google แบบเก่านั้นไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจบริบทต่างๆเหล่านั้นได้พอ นำมาสู่การแสดงผลลัพธ์ที่อาจไม่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน
แต่เจ้า Bert นี้ มีความสามารถในการเรียนรู้บริบทของคำค้นหาต่างๆและเรียนรู้ได้เอง ทำให้ระบบของ Google Search นั้นแสดงผลลัพธ์ได้ตามความต้องการผู้ใช้งานมากขึ้น แต่ก็แลกมากับการเปลี่ยนแปลงในด้าน SEO โดยตามคำพูดของทาง Google เองได้บอกไว้ว่าอัลกอริทึมที่มาใหม่อย่าง Bert นั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์การค้นหาหรือ SERPs มากกว่า 10% สำหรับภาษาอังกฤษในประเทศสหรัฐอเมริกา นี่นจึงหมายถึงว่าการแสดงผลลัพธ์ของภาษาอื่นๆทั่วโลกก็จะเกิดเปลี่ยนแปลงขึ้นเช่นเดียวกัน
ตรวจสอบข้อมูลการอัปเดตของ Google Search ได้อย่างไร
ถึงแม้ว่าการอัปเดตของ Google Search นั้นจะมีบ่อยครั้ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกๆการอัปเดต Google จะแสดงผลข้อมูลทั้งหมดให้เราได้ดูกัน แต่ว่าเราก็สามารถตรวจสอบความเคลื่นไหวการอัปเดตใหญ่ๆ รวมไปถึงข้อมูลต่างๆที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ที่ Search Console ซึ่งเป็นเครื่องมือฟรีจาก Google ที่สามารถใช้งานกันได้ทุกคนอยู่แล้ว
นอกเหนือจากนั้นทาง Google ก็มีคำแนะนำสำหรับเจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของเว็บไซต์ ที่จะบอกถึงข้อมูลต่างๆในเรื่องการอัปเดตของทาง Google Search สามารถอ่านได้ที่ https://developers.google.com/core-updates/