ทักษะที่ 1 : สร้างความสัมพันธ์
การสร้างความสัมพันธ์เป็นทักษะสำคัญอย่างแรกที่ผมขอพูดถึงและแนะนำ โดยเฉพาะเมื่อคุณเริ่มเข้าทำงานในบริษัทไหนก็ตามต้องทำความรู้จักกับผู้คนในบริษัทนั้นเอาไว้ เพราะการที่ได้รู้จักสนิทสนม และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้คนในบริษัทจะเป็นส่วนช่วยให้การทำงานสำเร็จได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้หลายๆครั้งเรามักทำความรู้จักกันเพียงแค่ผ่านทาง Email, Line, FB, หรือสื่อโซเชี่ยลต่างๆ ซึ่งมันไม่เพียงพอ คุณจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์ด้วยการพบเจอตัวเป็นๆ อาจจะนัดเจอกับเพื่อนร่วมงานในช่วงเลิกงานแล้ว
หรือหากคุณมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าทีม หัวหน้าฝ่าย หรือเป็นผู้ดูแลกิจการในบริษัทนั้นก็ควรจัดประชุมเพื่อทำความรู้จักกับลูกทีม และพนักงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นในบางครั้งคุณก็ต้องรู้จักสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในเชิงธุรกิจเช่นหุ้นส่วน ผู้ลงทุน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทโดยการนัดพบปะพวกเขาเหล่านั้นนอกเวลางานเสียบ้าง
แต่ถ้าคุณไม่สะดวกเรียกประชุมหรือนัดคุยกับคนอื่นๆโดยตรง ผมก็มีวิธีที่ใช้สร้างความสัมพันธ์กับพนักงานคนอื่นๆอีกวิธีที่เคยใช้มาแนะนำ โดยเริ่มจากการเลือกซื้อของฝากอาจจะเป็นอาหารหรือขนมก็ได้ แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับพนักงานในแผนกที่ไม่ค่อยพูดคุย หรือพบเจอกันบ่อย สิ่งนี้จะช่วยให้ตัวคุณและทีมของคุณได้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนในแผนกอื่นๆถึงแม้จะไม่ได้ค่อยได้พูดคุยกันนักก็ตาม
ต่อไปในหัวข้อนี้เป็นคำพูดคุยกันไม่แน่ว่าต้องแปลด้วยไหม
ทักษะที่ 2 : ทำความรู้จักกับ นักพัฒนาโปรแกรม และวิศวกร
ต่อมาในทักษะที่สองที่ขอพูดถึงนั่นคือการทำความรู้จักกับนักพัฒนาโปรแกรม (Developers) และวิศวกร (Engineers) ทั้งสองตำแหน่งงานนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำ SEO เหตุเพราะธุรกิจหรือโครงการของคุณจะรุ่งหรือจะร่วงก็มีทีมนักพัฒนาโปรแกรมและวิศวกรเป็นผู้อยู่เบื้องหลังและเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดด้วย เพราะฉะนั้นทำควรความรู้จักกับเค้าเหล่านี้เอาไว้ อย่างน้อยก็ควรรู้จักหน้าค่าตาบ้าง ว่าคนไหนทำงานในส่วนใดเพื่อที่จะช่วยให้เข้าใจว่าเมื่อมีปัญหาในส่วนใดควรคุยและทำความเข้าใจกับใคร
นอกเหนือจากนี้หากคุณเป็นหัวหน้าทีม SEO ก็ควรศึกษาหาความรู้ด้านเทคนิค (technical) บ้าง เพราะหากไม่รู้เรื่องเลยก็อาจจะทำให้พูดคุยสื่อสารกับนักพัฒนา และวิศวกรในทีมได้ไม่เข้าใจกัน ส่งผลเสียต่อเว็บไซน์ที่ดูแลทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพราะฉะนั้นหากต้องการให้ SEO ออกมาดีทั้งในแบบ On page และ Off page คุณจำเป็นต้องเข้าใจถึงการทำงานด้านเทคนิคการเขียนโค๊ดและการจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆในส่วนของหลังบ้านด้วย
และเมื่อคุณมีความรู้ด้านเทคนิคมากพอแล้วนั้น ยังมีอีกสามเรื่องที่ผมขอเตือนเอาไว้ว่าไม่ควรพูดกับนักพัฒนาโปรแกรมและวิศวกรถ้าไม่ต้องการให้มีปัญหาภายหลังและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย สามเรื่องที่ว่าได้แก่
- คุณห้ามบอกพวกเขาว่างาน หรือปัญหาต่างๆที่เค้าทำอยู่นั้นมันง่าย ถึงแม้ว่าการแก้ไขปัญหาเว็ปไซน์ที่ใช้ WordPress ในการทำอาจจะช่วยให้ดูเหมื่อนง่ายเพราะส่วนใหญ่เป็นแบบสำเร็จรูปและสะดวกต่อผู้ใช้งานอยู่แล้ว แต่คุณควรให้เกียรติ และเคารพในฝีมือของพวกเขา นอกจากนั้นเว็บไซน์ของลูกค้าที่จะติดต่อเข้ามาให้ทำ SEO นั้นก็ไม่ใช่ว่าทุกเว็บไซน์จะใช้ WordPress ทั้งหมด เพราะฉะนั้นไม่ควรอย่างยิ่งที่จะไปพูดว่างานที่พวกเขาทำอยู่นั้นเป็นเรื่องง่าย
- อย่าถามนักพัฒนาโปรแกรม หรือวิศวกรว่าพวกเขาทำงานนี้หรือแก้ไขปัญหานี้ได้ไหม เพราะทุกๆเรื่องสามารถแก้ไข และปรับแต่งได้ หรือหากไม่ได้จริงๆนั่นไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคลเพียงอย่างเดียว เพราะบางครั้งการแก้ไขปัญหาอาจจะต้องใช้ทรัพยากร ช่วงเวลา และจำนวนคนที่มากขึ้นถ้าหากอยากให้พวกเค้าทำงานได้ตรงตามความต้องการของคุณ
- ไม่จำเป็นต้องบอกถึงวิธีการทำงาน หรือวิธีแก้ไขงานที่พวกเค้าได้รับมอบหมาย เพราะการเข้าไปยุ่งวุ่นวายในการทำงานของคนอื่นอาจจะส่งผลให้เกิดการผิดใจกันได้ และเมื่อเขานี่คืองานของพวกเขา พวกเขาก็ควรรับผิดชอบและหาทางแก้ไขด้วยตัวพวกเขาเอง
ทักษะที่ 3 : ทำความเข้าใจ Tech Stack
มาสู่ทักษะที่สามคือการทำความเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรม หรือชุดเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการเขียนโปรแกรมและสร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น เราเรียกสิ่งนี้ว่า Tech Stack ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหรือข้อมูลที่อาจจะฟังดูยากทำให้มีคนส่วนใหญ่รวมถึงเอเจนซี่ และทีมงาน, พนักงานต่างๆไม่เข้าใจในเรื่องนี้
แต่ Tech Stack ถือได้ว่าเป็นสิ่งแรกที่ควรเข้าไปดูไม่ว่าคุณจะเริ่มทำงานในบริษัท SEO ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ตาม โดยอาจจะเริ่มจากการเข้าไปทำความรู้จักหลังบ้านในเว็บไซตืที่คุณต้องดูแลว่ามีโครงเสร้างเว็บไซต์ (CMS) ประเภทใดบ้าง รวมไปถึงต้องทำการตรวจสอบฝั่งของหน้าบ้าน (Frontednd) ว่ามีเครื่องมือใดที่เกี่ยวข้องบ้าง เช่น HTMLm, CSS และ JavaScript รวมทั้งยังตรวจสอบภาษาที่เขียน หรือเครื่องมือที่ใช้ในส่วนของหลังบ้าน (Backend) เช่นกันว่ามีอะไรบ้างเช่น Python, Java เป็นต้น
และเมื่อทำความเข้าใจเครื่องมือต่างๆที่ใช้เรียบร้อยแล้วนั้นก็ควรมีการอบรมทีมงานของคุณให้มีความรู้ในด้าน Tech Stack และเข้าใจว่าเครื่องมือหรือโค๊ดเหล่านี้คืออะไรด้วย
ทักษะที่ 4 : Technical SEO
ต่อมาในเรื่องของเทคนิค SEO นั้นถือได้เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึงเพียงแต่ว่าการจะเข้าใจหรือทำตามเทคนิคต่างๆได้นั้นคุณต้องสามารถดูโครงสร้างเว็บไซต์ หรือ CMS ให้เป็นเสียก่อน โดยการจะดูให้เป็นก็ต้องเข้าใจการทำงานของ Tech Stack อย่างที่กล่าวเอาไว้ในทักษะที่ 3
โดยเทคนิคต่างๆที่สำคัญสำหรับ SEO นั้นผมขอแนะนำให้ติดตาม Martin Splitt ที่เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Developers) ของ Google ที่จะนำเทคนิคและข้อมูลต่างๆมาแชร์ให้ทุกคนรู้กัน
ช่องทางการติดตาม Martin Splitt https://twitter.com/g33konaut
ทักษะที่ 5 : เริ่มการเสนอแผนงาน
เอาละหลังจากคุณได้ผ่านทักษะทั้งสี่ข้อที่กล่าวมาแล้ว ถึงเวลาที่คุณควรจะมาทบทวนว่าจะเริ่มทำทำงานจากจุดไหนรวมไปถึงจัดการแผนการทำ SEO ในส่วนไหนก่อนดี ถึงแม้ว่าก่อนจะเข้าบริษัทมาใหม่ๆคุณอาจจะมีแผนการทำงานหรือโปรเจคสำหรับทำ SEO มากมาย แต่ว่าคุณควรเริ่มต้นจากการพิจารณาแผนงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทในช่วงนั้นๆ ตัวอย่างเช่นในไตรมาสหน้าบริษัทต้องการยอดขายและเนื้อหาที่ตรงตามฤดูกาล ก็ควรที่จะเริ่มปรับเปลี่ยนแผนการทำงานเดิมที่คุณไว้ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของบริษัทมากที่สุด สิ่งนี้ทำให้เมื่อคุณไปพรีเซ้นงานจะทำให้ผ่านฉลุย เนื่องมาจากโครงงานของคุณตอบโจทย์ความต้องการหรือเป้าหมายของบริษัทคุณนั่นเอง
และยังมีอีกวิธีทีหนึ่งที่จะช่วยให้แผนการทำงานหรือโปรเจคของคุณผ่านช่วงขายงานและพรีเซ้นไปได้ด้วยดี นั่นก็คือการหาผู้สนับสนุนจากแผนกอื่นๆ หรือทีมงานต่างๆ ที่เราได้ทำความรู้จักเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายวิศวกร, นักพัฒนาซอฟต์แวร์, คนในบริษัท รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆในบริษัทของคุณอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อคุณขายงานนี้แน่นอนว่าโอกาสในการผ่านสูงมาก เพียงแต่อย่าลืมว่าโปรเจคหรือแผนการทำงานของคุณต้องมีประโยชน์ต่อบริษัทจริงๆ
ทักษะที่ 6 : สร้างความสำเร็จให้ไว
หลังจากที่คุณเข้าทำงานในบริษัทใหม่นั้นช่วงสามถึงหกเดือนแรกเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการสร้างชื่อเสียงของตัวคุณให้กับบริษัท เพราะฉะนั้นในช่วงการทำงานแรกๆนั้นควรเลือกแผนการทำงานหรือโครงการให้มีขนาดเล็กไม่ควรเลือกทำงานที่ยากจนเกินไป แต่ให้เลือกงานที่ง่ายและเสร็จโดยไว สิ่งนี้จะแสดงให้เห็นถึงความสามารถของตัวคุณได้ง่ายกว่าและเห็นผลไว้กว่า เพราะฉะนั้นไม่ว่าคุณมีโปรเจคขนาดใหญ่ที่จะช่วยให้บริษัทนี้เติบโตอย่างไรนั้นก็ควรพักไว้เสียก่อน
ทักษะที่ 7 : เริ่มโปรเจคขนาดใหญ่
หลังจากที่คุณเริ่มทำโปรเจคที่เป็นงานขนาดเล็กสำเร็จในช่วงสามถึงหกเดือนแรกแล้วนั้น ก็ควรที่จะเริ่มมองไปในส่วนของโปรเจคขนาดใหญ่ต่างๆที่เคยเอาไว้ และเริ่มลงมือทำเสียที โดยอาจจะแบ่งช่วงการทำงานออกเป็นส่วนๆเพื่อให้สามารถรายงานได้ว่าความคืบหน้าของงานหรือโปรเขคนี้ไปถึงขั้นตอนไหน และยังจะช่วยให้สะดวกต่อการทำงานอีกด้วย
แต่ควรระวังไว้ว่าในกรณีที่ต้องการเริ่มทำโปรเจคใหญ่ใดๆก็ตามไม่ควรทำระหว่างที่บริษัทมีปัญหาในด้านต่างๆ ควรสังเกตและเลือกช่วงเวลาให้ถูกต้องเสียก่อน
ทักษะที่ 8 : แสดงผลงาน
ทุกๆผลงานหรือสิ่งที่คุณทำลงไปนั้นควรที่จะมีตัวดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงาน หรือที่นิยมเรียกว่า KPI เพื่อเป็นการบอกให้บริษัทรับรู้ว่างานของคุณมีผลอย่างไรบ้างต่อบริษัท และยิ่งหากตรวจสอบดูแล้วพบว่างานของคุณมีประโยชน์และผลกระทบต่อธุรกิจหรือบริษัทโดยตรงก็ยิ่งจะทำให้ตัวคุณเองได้ประโยชน์ไปด้วย
ทักษะที่ 9 : พัฒนาความรู้ด้านการวิเคราะห์
การพัฒนาทักษะด้านการวิเคราะห์จะช่วยให้การทำโปรเจคงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ SEO ในอนาคตของคุณให้ดีขึ้นได้ เพราะฉะนั้นจึงนับเป็นอีกสิ่งที่จำเป็นในการเรียนรู้และพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ โดยอาจจะเริ่มจากการฝึกใช้งานการวิเคราะห์ด้วยการใส่เว็บไซต์ของคุณลงไปใน Google Analytics หรือใน SEMrush แล้วทำการจดข้อมูลต่างๆที่วิเคราะห์จากทั้งสองโปรแกรมลงใน Google Sheet ที่สะดวกต่อการใช้งานก็ได้ หรือถ้าคุณมีความรู้ด้าน MySQL และ API อยู่บ้างก็จะช่วยในการทำงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลได้เป็นอย่างดี ซึ่งมั่นใจได้เลยว่าทักษะด้านวิเคราะห์คุ้มค่ากับการพัฒนา เพราะจะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำ SEO อีกด้านหนึ่งด้วย
ทักษะที่ 10 : สร้างกระบวนการทำ SEO
การสร้างกระบวนการทำ SEO นั้นเป็นสิ่งที่ต้องทำในบริษัทขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากทีมงานในการทำ SEO นั้นมีจำนวนไม่น้อย เพราะฉะนั้นคุณจำเป็นต้องมองเห็นถึงขั้นตอนในแต่ละทีม หรือแผนกของการทำ SEO ว่า หน้าที่ในแต่ละตำแหน่งของทีมงานนั้นเชื่อมโยงถึงกันอย่างไร เพราะว่าทุกตำแหน่งในงานด้าน SEO ล้วนมีความสำคัญที่เชื่อมโยงถึงกันทำให้ต้องใส่ใจและเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ในแต่ละตำแหน่งงานนั้นๆ และเมื่อคุณทราบถึงความเชื่อมโยงในแต่ละตำแหน่งงานของการทำ SEO แล้วนั้น คุณจะสามารถจัดการกระบวนการทำ SEO ได้ง่ายขึ้น และทรงประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทักษะที่ 11 : เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแบบ Workflow
การที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแบบ Workflow นั้นเราต้องทำการลดขั้นตอนต่างๆที่ยุ่งยาก และไม่จำเป็นออกไปให้ได้มากที่สุด และถ้าเป็นไปได้ผมก็อยากให้พยายามใช้ Jira Software ที่มีความสามารถในการวางแผน, ติดตาม, และแสดงผลข้อมูลต่างๆ ซึ่งวิ่งเหล่านี้จะช่วยให้การปรับแต่งการทำงานให้ง่ายมากยิ่งขึ้น และช่วยให้การทำงานของทีมคุณเป็นไปอย่าง Workflow ได้ดียิ่งขึ้น
ทักษะที่ 12 : การตามหาทรัพยากรเพิ่ม
ทรัพยากรที่พูดถึงนี้หมายไม่ได้หมายถึงเงินทองแต่เป็นบุลคล ที่จะเข้ามาร่วมงานในทีมงาน SEO ของคุณ เพื่อที่จะช่วยงานในด้านที่ขาดอยู่ หรือเสริมพลังให้กับทีมของคุณให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยการตามหาบุคคลเข้าร่วมงานที่มีคุณสมบัติตามที่คุณต้องการนั้นมีสิ่งจำเป็นอยู่อย่างหนึ่งคือคนนั้นต้องมีความสามารถที่ต่างจากคนในทีมของคุณ และที่สำคัญคือต้องมีความสนใจใน SEO
ทักษะที่ 13 : พัฒนาทีมงาน
ถึงแม้ว่าคุณจะมีความสามารถและเก่งแค่ไหนก็ไม่มีทางที่จะดูแลงานในทุกๆขั้นตอนได้ เพราะฉะนั้นการพัฒนาทีมงาน และตามหาคนเก่งๆในแต่ละแผนกนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานของคุณได้แล้วนั้น ไม่แน่สักวันเมื่อเค้าเหล่านั้นมีไอเดียหรือโปรเจคดีๆที่เกี่ยวข้องกับ SEO ก็จะเข้ามาเสนอแนะให้กับคุณได้ทราบอีกด้วย
ทักษะที่ 14 : พัฒนาแผนการทำงาน
การพัฒนาแผนการทำงานเป็นอีกสิ่งที่จำเป็น โดยอาจจะเริ่มจากการศึกษาข้อมูล และตรวจสอบถึงโปรเจคงานต่างๆในช่วงสิ้นปี และทำการเริ่มประเมินผลงานหรือประโยชน์ต่างๆที่ได้รับจากโปรเจคงานต่างๆที่ทำไป ว่ามีโปรเจคใดที่สำเร็จ และโปรเจคใดที่มีความผิดพลาดไปบ้าง นำสิ่งเหล่านั้นมาพูดคุย ศึกษาและเรียนรู้ไปพร้อมๆกับทีมงานก็จะช่วยให้ในอนาคตการจัดทำโปรเจคหรือแผนการทำงานพัฒนามากยิ่งขึ้น
ทักษะที่ 15 : เลือกลำดับความสำคัญในการทำ SEO ให้ฉลาด
ถึงแม้ว่าทุกๆขั้นตอนในการทำ SEO นั้นมีความสำคัญไม่มากก็น้อย แต่ไม่ใช่ว่าเราต้องเคร่งไปกับทุกๆเรื่อง เพราะฉะนั้นควรใส่ใจถึงลำดับความสำคัญของการทำ SEO ว่าสิ่งไหนมีความสำคัญมากก็ควรเคร่งและไม่ให้ผิดพลาด แต่หากสิ่งไหนที่มีความสำคัญน้อยก็ควรรู้จักปล่อยปละไปบ้าง นอกจากนี้ยังต้องอธิบายถึงลำดับความสำคัญเหล่านี้ให้ทีมงานทุกๆคนทราบ เพื่อที่จะให้ทีมงานของคุณไม่รู้สึกอึดอัดในการทำงาน และเข้าใจได้ว่าสิ่งใดที่สำคัญจริงๆในการทำ SEO
ทักษะที่ 16 : หยุดทำสิ่งที่ไม่จำเป็นนี้
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเริ่มสรุปผลงาน หรือแจ้งถึงความคืบหน้าของโปรเจคต่างๆ หลายคนมักเขียนข้อมูลเชิงลึกและรายละเอียดปลีกย่อยลงไปในรายงานและส่งผ่านไปให้หัวหน้า หรือผู้บริหารดู แต่หารู้ไม่ว่ารายงานหรือข้อความที่เขียนยาวเป็นพรืดเหล่านั้นมักไม่มีใครอ่านกันหลอก เพราะมันไม่ได้น่าสนใจและรู้สึกเสียเวลา ยิ่งเป็นคนระดับผู้บริหารหากไม่ใช่เอกสาร หรือรายงานที่สำคัญจริงๆก็คงอ่านไม่ถึง 5 นาทีก็ทิ้งแล้ว
เพราะฉะนั้นทักครั้งที่จัดทำรายงาน หรือเขียนสรุปผลงานต่างๆควรเขียนเป็นแบบย่อ หรือสรุปให้เข้าใจได้ง่ายเพียงไม่กี่บรรทัดในเอกสารหน้าแรกเท่านั้น หรือบางคนอาจจะส่งเอกสารเหล่านี้ผ่านทางEmail ก็อาจจะเพิ่มข้อมูลด้วยการทิ้งลิ้งที่เป็นรายละเอียดของข้อมูลสรุปเหล่านั้นเอาไว้ เผื่อว่าหากสนใจเค้าจะสามารถเข้าไปค้นหาและดูรายละเอียดต่างได้ง่าย
ทักษะที่ 17 : ทำให้ผู้อื่นเป็นฮีโร่
แล้วก็มาถึง 3 ข้อสุดท้ายกัน โดยในข้อนี้จะมาพูดถึงการทำให้ผู้อื่นหรือแผนกและทีมงานอื่นๆเป็นฮีโร่กัน ถึงแม้ว่าตัวคุณเองจะมีผลการทำงานที่ดีในฐานะหัวหน้างานอยู่แล้ว แต่การที่ได้รับความชื่นชมจากหัวหน้าหรือผู้บริหารอยู่คนเดียวนั้นเป็นสิ่งที่ผิด เพราะทุกๆการทำงาน SEO นั้นคุณไม่สามารถทำเพียงแค่คนเดียวได้ แต่คุณยังต้องคอยเพิ่งผู้อื่นด้วย
เพราะฉะนั้นอย่าลืมที่จะให้เครดิตในการทำงานแก่ทุกคน หรือทุกทีมที่มีส่วนร่วมเพราะหากว่าไม่ได้ฝีมือการทำงานจากพวกเขา งานหรือโปรเจคที่คุณทำอยู๋นั้นก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ และเมื่อทีมงานต่างๆรับรู้ได้ว่าคุณไม่ได้ยึดเอาผลงานไปเป็นของตัวเองแต่ให้เครดิตพวกเขาด้วย ก็จะทำให้ความสัมพันธ์ในที่ทำงานเป็นไปได้ด้วยดี และสามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้อย่างมีความสุข
ทักษะที่ 18 : วางแผนสำหรับอนาคต
การวางแผนสำหรับอนาคตเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของทุกคน เพราะฉะนั้นแล้วควรคำนึงถึงว่าในอนาคตตัวคุณเองจะไปอยู่ในจุดไหน และต้องทำอย่างไรเพื่อประสบความสำเร็จในชีวิตของคุณได้
ทักษะที่ 19 : เคารพในความสามารถของผู้อื่น
เรื่องสุดท้ายที่ผมอยากขอพูดถึงคือการเคารพผู้อื่นทั้งในเรื่องของความสามารถและในด้านมนุษย์ศยธรรม เพราะทุกๆคนนั้นล้วนต่างต้องการความเคารพจากผู้อื่น แต่เราจะไม่สามารถรับมันได้เลยถ้าเรายังไม่รู้เคารพคนอื่นเสียก่อน นอกจากนี้ในด้านการทำงานการเคารพในความสามารถของผู้อื่นก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพราะทุกๆคนต่างก็พยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อที่จะให้งานออกมาดีและเป็นที่ยอมรับ เราไม่ควรรีบตัดสินใจและว่ากล่าวผู้อื่นทันทีถึงแม้ว่าผลงานที่เค้าทำนั้นมันจะดูแย่หรือไม่สำเร็จก็ตาม
สุดท้ายนี้อยากบอกว่าการที่คุณป็นคนดี เป็นคนจริงใจ เข้าถึงง่าย มีความเมตตา รู้จักถ่อมตน เข้าใจผู้อื่น และพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเสมอ สิ่งเหล่านี้จะทำให้มีความสุขในการทำงานในการใช้ชีวิตทั้งในบริษัท ในสังคม