facebook pixle

คู่มืออาชีพ SEO Specialist รับทำ SEO แข่งกับ Agency แบบนักรบ

นี้เป็นบทความประกอบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง Self-paced Learning Blog เกี่ยวกับเส้นทางการเป็น SEO Specialist  ที่มุ่งมั่นทำ SEO แข่งกับ Agency โดยเขียนและเผยแพร่จากประสบการณ์พี่นักรบ เหตุผลที่ต้องจินตนาการว่าคู่แข่งคือ SEO Agency เสมอๆเพื่อเร่งใช้ศักยภาพตัวเองให้เต็มที่โดยไม่ประมาท ความรู้ที่แชร์นี้ น้องๆสามารถนำไปปรับใช้กับอาชีพ In-house SEO Specialist, SEO Freelancer หรือสร้าง SEO Agency เล็กๆก็ได้ แนวทางความสำเร็จในอาชีพนี้มีมากกว่าหนึ่งเส้นทาง ส่วนของพี่เป็นเพียงแนวทางหนึงเท่านั้นครับ พี่จึงมีคำว่า “แบบนักรบ” กำกับเสมอในเนื้อหาบ่อยๆ

เนื้อหาที่จะเขียนต่อไปนี้จะเน้นหนักด้านเทคนิคมากๆ ฉะนั้นใครเป็นมือใหม่ ขอให้อ่านเนื้อหาเบาๆและรู้จักพี่ก่อนที่ คู่มืออาชีพ Freelance SEO Specialist รับทำ SEO รายได้ 1.2 ล้าน/ปี ในเวลา 3 ปีและวิธีเริ่มต้น จ้าาาาา

อาชีพ SEO Specialist เหมาะกับใคร

บอกจากประสบการณ์พี่ ลักษณะนิสัยที่ช่วยทำงาน SEO ได้ดีมีประมาณนี้ครับ

  1. เป็นคนช่างสังเกต จดบันทึกและติดตามข่าว Google’s algorithms สม่ำเสมอ เพื่อปรับเปลี่ยนได้ทัน โดยแนะนำให้จดใน Note ต่างๆในโปรแกรมที่ใช้ทำ SEO ครับ
  2. ชอบเรียนรู้วิธีทำ SEO จากทีมงาน Google Search Console โดยตรง จากเว็บ Developers.google.com/search/blog
  3. ชอบเรียนรู้การทำ SEO จากคนชำนาญระดับโลกก่อนเป็นหลัก เช่น Brian dean, Ahefs Blog, SEMrush Blog
  4. ชอบเรียนรู้การทำ SEO จาก Blog คนไทย (Thai SEO Specialist Blog) ที่ทำเอสอีโอเองและได้ผลดี โดยเน้นที่ Best practice และย้ำว่าต้องเป็นแนวทางปฏิบัติจริงจากผลงานจริงครับ
  5. ชอบทดสอบ จดบันทึก วัดผลการทำ SEO และสนุกกับการไต่อันดับของคีย์เวิร์ดในกูเกิลเสิร์ชครับ
  6. มีทัศนคติที่ดีกับคู่แข่ง โดยเฉพาะคู่แข่งการทำเอสอีโอในกลุ่มคีย์เวิร์ดเดียวกัน มองว่าเป็นการแข่งขันเพื่อพัฒนา SEO ร่วมกัน

เท่าที่นึกได้และจำเป็น น่าจะประมาณด้านบนนั้นครับ เป็นข้อมูลจากประสบการณ์นักรบเอง

วิธีเริ่มต้นอาชีพ SEO Specialist

วิธีเริ่มต้นอาชีพ SEO Specialist
หนังสือดันเวบไซต์ให้ดังด้วย SEO ของคุณศุภณัฐ สุโข
แนะนำหนังสือดันเวบไซต์ให้ดังด้วย SEO ของคุณศุภณัฐ สุโข

นักทำ SEO มือใหม่ควรเริ่มต้นเรียนรู้จากแหล่งความรู้ที่เป็นระบบ มีหัวข้อไล่ตามสเต็ปจากพื้นฐานก่อน โดยนักรบแนะนำให้เรียนรู้จาก

  1. ปูพื้นฐานด้วย “หนังสือ เช่น จากหนังสือ ดันเวบไซต์ให้ดังด้วย SEO ของคุณศุภณัฐ สุโข” ครับ หลังอาจจบจะไล่เก็บคำศัพท์และหัวข้อพื้นฐานที่ต้องรู้ได้ผ่านหนังสือ
  2. อ่านบล็อกสอนเอสอีโอฟรีได้จาก บล็อกของ SEO Specialist คนไทย-เทศ
  3. ฝึกทำ SEO กับเวบไซต์ตัวเอง ย้ำว่าเว็บตัวเองเพราะจะควบคุมอะไรได้เยอะที่สุด ไม่ต้องรอการตัดสินใจกับคนอื่นครับ
  4. สมัครเรียนคอร์ส SEO ต่างๆ เอาที่จ่ายไหว และคอร์สฟรีก็มีมากมาย ลองหาคอร์สฟรีมาลงเรียนก่อนก็ได้ และลองอ่านบทความความรู้ฟรีของเขาก่อนว่าเหมาะกับเราไหม ดูว่าเข้าใจง่ายไหมประกอบการตัดสินใจ
  5. ลองอบรมออนไลน์ เพื่อได้รับ SEO Certification บ้าง (เมื่อก่อนพี่เป็นคนไม่ชอบ certification มาก เพราะเชื่อว่าความรู้จริงของจริงต้องมาจากการทำเองเห็นเอง แต่มาวันนี้การมีมันประดับไว้ก็ไม่เสียหายเท่าไหร่)
  6. สมัครทำงานตำแหน่ง Inhouse SEO ในบริษัทต่างๆ โดยเฉลี่ยมันจะง่ายกว่าการทำใน Agency นะ
  7. สมัครทำงานใน SEO Agency ในกรณีอยากเร่งสปีดทั้งประสบการณ์และผลงาน (แต่อาจติดเรื่องเอาผลงานมาเป็น Credit ใน Web Port)
  8. ก้าวสู่อาชีพแบบฟรีแลนซ์ ซึ่งคงเป็นทางเลือก หลังจากรู้วิธีการทำการตลาดให้ตัวเองมีลูกค้าแล้ว ช่วงแรกก็ทำ Part-time freelance คู่งานประจำไปก่อน
  9. ตั้งบริษัทรับทำ SEO หรือ Agency ซึ่งพี่ก็ทำอยู่แต่ทำขนาดเล็กและพอแนะนำน้องๆได้

ขั้นตอนด้านบนส่วนใหญ่พี่ผ่านมาหมดแล้ว จะมากจะน้อยก็แล้วแต่ ก็สามารถแนะนำน้องๆในการประกอบอาชีพนี้ได้แน่นอนครับ

พี่นักรบแนะนำว่า

การเริ่มต้นเรียนรู้เส้นทางอาชีพ SEO Specialist ควรเรียนรู้จากถูกไปแพงก่อน เช่น

  • อ่านหนังสือ, อ่านบล็อกสอนฟรี และทำเอสอีโอกับเวบตัวเองก่อน
  • หากจะเรียนคอร์สควรศึกษาผลงานผู้สอนให้ดีก่อนตัดสินใจเรียน
  • ควรทำ SEO ให้เวบตัวเองหรือเวบคนรู้จักที่ไม่คาดหวังผลลัพธ์มากเกินไปก่อน เพราะจะได้มีเวลาลองผิดลองถูกในสิ่งที่เรียนมา
  • การรับทำ SEO ให้กับลูกค้า ควรทำหลังจากรู้หลักการทำ SEO ที่ผลดีแน่นอนแล้ว เพราะเวบและแบรนด์ลูกค้าสำคัญมาก เราต้องแน่ใจว่าทุกขั้นตอนการทำเอสอีโอนั้นส่งผลดีกับเวบลูกค้าครับ

แหล่งเรียนรู้จากบล็อก SEO Specialist คนไทย-เทศ

บล็อกคนไทยสอน SEO ฟรี บล็อกส่วนใหญ่ที่แนะนำจะเน้นนักทำเอสอีโอที่ลงมือทำจริงและมีผลงานเป็นหลัก และนักรบได้อ่านมาแล้วบ้างพอจะแนะนำนะครับ เช่น

  • Padveewebschool.com สอนการทำ SEO ฉบับพัดวี
  • Chalakornberg.com สอนการทำ SEO สไตล์โบ๊ะบ๊ะ ฉบับคุณเม
  • Funnel.in.th สอนการทำ SEO ฉบับคุณเจ
  • Rungwat.com สอนการทำ SEO ฉบับคุณนิว
  • Papayiw.com สอนการทำ SEO ฉบับคุณยิว

แหล่งเรียนรู้จากบล็อก SEO Specialist ต่างประเทศ

บล็อกต่างประเทศที่สอนเรื่องเอสอีโอมีเยอะมากๆ และไม่จำเป็นต้องตามอ่านทั้งหมดเพราะจะไม่มีเวลาทำงานกันพอดี พี่นักรบเลยคัดมาเฉพาะที่ตามอื่นจริงๆ แค่นี้ก็ไล่อ่านไม่ไหวแล้วครับ เช่น

SEO Specialist Skill ทักษะพื้นฐานของอาชีพนี้

ทักษะพื้นฐานอะไรบ้างที่น้องๆที่จะเป็น SEO Specialist ควรรู้ คือ ความรู้ด้าน Digital Marketing เพราะบ่อยครั้งที่ต้องประสานงานกับทีมงานหลายฝ่าย นี้คือรายการทักษะพื้นฐานที่นักทำเอสอีโอควรรู้ครับ

  • ความสามารถในการค้นหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง
  • การเข้าใจพื้นฐาน HTML Tag ต่างๆที่สำคัญ เช่น Title, Description, H1-H2, Img alt, text link
  • ความรู้ในการเขียน ลบ เพิ่มข้อมูลในเวบไซต์ CMS เช่น WordPress
  • มีทักษะการเขียนคอนเทนต์และผสมผสานคีย์เวิร์ดได้
  • มีความรู้ในการปรับแต่งภาพให้รองรับเอสอีโอ เช่น ชื่อภาพ และขนาดไฟล์
  • มีความรู้ในการปรับแต่งเอสอีโอใน YouTube
  • มีความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่ออันดับในกูเกิล เช่น Onsite, onpage, offpage factor ต่างๆ
  • สังเกตพฤติกรรมผู้ใช้เสิร์ชเอนจิน และติดตามข่าวอัลกอริทึมกูเกิลสม่ำเสมอ

ทักษะพื้นนฐานที่จำเป็นของอาชีพนี้มีประมาณด้านบนนี้ครับ แต่ถ้าหากลงลึกไปอีกเพื่อก้าวสู่ขั้น SEO Expert ควรรู้ด้านล่างนี้เพิ่มครับ

Hard Skill

ทักษะหลักที่จำเป็นอย่างยิ่งในการทำเอสอีโอ

  • Keyword research การค้นหาคีย์เวิร์ดทั้งแบบ Main keyword, long-tail keyword, competitor Keyword, gab keyword, transactional keyword, informational keyword
  • Keyword ranking Checker การติดตามการขึ้นลงของอันดับคีย์เวิร์ดต่างๆ ที่มีผลต่อจำนวนทราฟฟิคและเกี่ยวของกับกิจการ
  • Spy competitor keyword เช็คคีย์เวิร์ดคู่แข่งและติดตามอันดับ เพื่อเปรียบเทียบความเคลื่อนไหวของคู่แข่ง
  • Website Structure audit ตรวจสอบและให้คำแนะนำการสร้างเวบไซต์ที่รองรับการทำ SEO เช่น URL Friendly, Perfomance , Speed, https, security, backup, HTML tag (Title, Description, alt, canonical), site map, robot text file
  • Content audit ตรวจทานการทำคอนเทนต์ให้รองรับการทำ SEO ทั้งในส่วน Heading, Link, Image, Paragraph, Internal link, related content topic, deep content
  • Driving traffic to website มีวิธีเพิ่มคนเข้าใช้งานเวบจากหลายทาง เช่น Website, Webboard, Forum, Social, paid ads ต่างๆ
  • Building authority web from social media สร้างชื่อเสียงให้เวบด้วยการสร้างความน่าเชื่อและคนติดตามและมี Engagement ใน Social media
  • Building authority web from backlink สร้างลิกค์ขาเข้าจากเวบไซต์อื่นที่เกี่ยวข้องและเพิ่มความมีชื่อเสียงให้เว็บ สร้างช่องทางคนรู้จักให้เพิ่มมากขึ้น
  • SEO Report สร้างรายงานการนำเสนอผลลัพธ์การทำเอสอีโอ และเสนอแนะวิธีแก้ไขเวลาเจอปัญหาเวบอันดับตกได้

ถ้าเนื้อหาด้านบนมันดูหนักเกินไป ไม่เป็นไร ก็ค่อยๆเรียนรู้ผ่านพี่ครับ เดียวจะสอนผ่านการใช้ SEO Tools ไปเรื่อยๆ เน้นการทำงานจริงหรืออิงความรู้จากคนเก่งๆทั่วโลกที่พี่ติดตามครับ

Soft Skill

ทักษะรองที่เน้นทำงานร่วมกันเป็นทีมกับฝ่ายต่างๆ เช่น ทีม Social media admin, graphic designer, web developer, web content writer, media buyer/planner, facebook ads marketer และ video editor เป็นต้นครับ

เข้าใจพื้นฐานการทำ SEO

พื้นฐานที่ดีช่วยต่อยอดการคิดวิเคราะห์การทำเอสอีโอได้ โดยเริ่มต้นจาก

  • เข้าใจกูเกิลเสิร์ชว่าทำงานอย่างไร
  • ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่ออันดับเวบในผลการค้นหา
  • จดจำ HTML Tag สำคัญที่มีผลกับการทำเอสอีโอ เช่น Tag Titile , Description, H1, H2, Img alt เป็นต้นครับ

กูเกิลเสิร์ชทำงานอย่างไร

กูเกิลเสิร์ชทำงานใน 3 ขั้นตอนหลักแบบนี้

  1. Crawling : กูเกิลส่ง Crawlers ไปจำนวนมากเพื่อมองหาหน้าเวบที่เกิดขึ้นใหม่หรืออัปเดท โดยใช้วิธีวิ่งไปตามลิงก์เวบไซต์ที่รู้จักดีอยู่แล้ว
  2. Indexing : กูเกิลจะทำความเข้าใจเนื้อหา ภาพ และวีดีโอภายในหน้าเวบ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร และจะจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลขนาดใหญ่
  3. Serving search results : เมื่อใช้งานกูเกิลเสิร์ช กูเกิลจะพยายามแสดงผลการค้นหาให้ดีที่สุด โดยพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ตำแหน่งของผู้ใช้, ภาษา, อุปกรณ์มือถือหรือพีซี และคำค้นหาในอดีต เช่น ถ้าผู้ใช้ค้นหา “ร้านซ่อมจักรยาน” ก็จะแสดงผลการค้นหาที่แตกต่างกันระหว่าง นาย A ที่อยู่จังหวัดเชียงใหม่ กับนาย B ที่อยู่กรุงเทพ เป็นต้นครับ

หากต้องการเข้าใจการทำงานของกูเกิลเสิร์ชมากขึ้น ศึกษาต่อได้ที่เวบของกูเกิลเองได้เลยครับที่ How search work by Google

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการจัดอันดับของเสิร์ชเอนจิน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดอันดับผลการค้นหามีมากกว่า 200+ ปัจจัย และมีการอัปเดทบ่อยมากๆ โดยส่วนใหญ่แล้วปัจจัยทั้งหมดจะอยู่ในแนวทาง 5 เรื่องนี้ที่กูเกิลบอกมาเป็นแนวทาง แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดมาก ฉะนั้นนักทำเอสอีโอจะตีความหมายกันไปเองตามประสบการณ์ใน 5 เรื่องนี้ครับมีอะไรบ้าง ไปดูกันครับ

  1. Meaning of your query : กูเกิลพยายามทำความเข้าใจความต้องการของคำค้นหาต่างๆ เช่น ผู้ใช้พิมพ์คำว่า “เปลี่ยนความสว่างของแล็ปท็อป” แต่ผู้ผลิตใช้คำว่า “ปรับความสว่างของแล็ปท๊อป” ทางระบบกูเกิลจะมองว่าเป็นเรื่องเดียวกัน และแสดงผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องให้กับผู้ใช้
  2. Relevance of content : ระบบจะทำการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันในแต่ละคีย์เวิร์ด เช่น หน้าเวบมี “Keyword A” แสดงอยู่ทั้งส่วนหัวข้อและเนื้อหา อีกทั้งยังมี Keyword B, C , D อื่นๆอีกที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกัน ระบบจะทำการรวบรวมไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น เมื่อผู้ใช้พิมพ์คำว่า “น้องหมา” กูเกิลจะแสดงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับ “น้องหมา” เช่น เรื่องสายพันธ์หมา, ภาพหมา, วีดีโอหมา ในอันดับต้นๆได้ดีกว่าเวบที่มีแต่คีย์เวิร์ดคำว่าหมาอย่างเดียวครับ
  3. Quality of content : หลังจากระบบระบุข้อมูลเกี่ยวกับ Relevnce of content แล้ว ระบบจะลำดับความสำคัญของเนื้อหาที่เต็มไปด้วยประโยชน์ก่อน การระบุเรื่องนี้จะอาศัย 3 เรื่องคือ
    • Expertise : ข้อมูลความรู้ที่มาจากมืออาชีพในเรื่องนี้
    • Authoritativeness : มีพลังและอยู่ในกลุ่มผู้นำในอุตสาหกรรมนั้นๆ
    • Trustworthiness : ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา เช่น การแสดงแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
  4. Usability of web pages : ระบบจะพิจารณาการใช้งานของเนื้อหา เช่น ใช้งานง่าย, รองรับมือถือ, โหลดเร็ว, อ่านง่าย เป็นต้นครับ
  5. Context and settings : ข้อมูลอื่นๆ เช่น ตำแหน่งที่ตั้ง, การค้นหาในอดีต การตั้งค่าต่างๆ ช่วยให้แสดงผลการค้นหาที่มีประโยชน์มากขึ้น เช่น ถ้าคุณพิมพ์คำว่า “ร้านอาหาร” หรือ “ที่พัก” ระบบจะแสดงผลการค้นหาแบบแผนที่เป็นส่วนใหญ่ครับ

แหล่งข้อมูลเรียนรู้ Ranking results by Google.com

เข้าใจพื้นฐาน HTML Tag ที่เกี่ยวข้องกับ SEO

เนื่องจากกูเกิลบอทจะเข้ามาเก็บข้อมูลในหน้าเวบและอ่านโค้ด HTML ต่างๆที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังด้วย ฉะนั้นถ้าเราเข้าใจ HTML tag ที่สำคัญก็จะช่วยสื่อสารกับกูเกิลบอทได้ง่ายขึ้น เช่น

  • Title tag : แสดงชื่อเนื้อหา ยาวไม่เกิน 70 ตัวอักษรโดยประมาณ
  • Meta tag description : แสดงรายละเอียดใต้ Title และจะยาวประมาณ 160 ตัวอักษรโดยประมาณ
  • H1, H2, H3 : Heading tag ต่างแสดงหัวข้อสำคัญๆในเนื้อหา
  • Image alt : สื่อความหมายของภาพ
  • Ancrhor text : ข้อความภายในลิงก์

ตำแหน่งงาน SEO Specialist และเงินเดือน

ตัวอย่างรายได้ต่อเดือนของอาชีพ SEO Specialist ในไทยและเทศ

  • ในไทยอิงข้อมูลจากเวบรับสมัครงานในไทย เช่น jobdb จะเห็นว่ามีตั้งแต่ 20k-70k เลยทีเดียว
  • ต่างประเทศอิงจาก indeed เงินเดือนแตกต่างค่อนข้างมาก คุณอาจจะได้มากกว่า 90k-100,000++ บาทต่อเดือนเลยทีเดียว

เป็น SEO Specialist ใน Agency ต้องดูแล SEO กี่เวบ

เท่าที่สอบถามเพื่อนในวงการ SEO Agency มา เขาบอกว่าคนดูแลการทำ SEO อาจจะต้องดูแลมากกว่า 10 เวบต่อคนเลยทีเดียว โดยดูเฉพาะฝั่ง Technical SEO เพียงอย่างเดียว ส่วนงานด้าน Content ก็ให้อีกทีมดูแลครับ

ถ้าดูจากปริมาณที่ดูแลเว็บเป็นสิบเว็บแล้ว ค่อนข้างเยอะ ฉะนั้นคนที่ทำได้ต้องมี SEO Tools ในการบริการจัดการการทำเอสอีโอได้ดี และมีระบบติดตามผลลัพธ์ และการทำรายงานต่างๆได้เป็นอย่างดี เพื่อประหยัดเวลาในการจัดการ จะได้มีเวลาเหลือในการวิเคราะห์การทำเอสอีโอที่สำคัญๆครับ

SEO Specialist ต่อยอดทักษะไปสายอาชีพอะไรได้บ้าง ?

คนที่ถนัดด้านเอสอีโอสามารถต่อยอดทักษะไปสายอาชีพอื่นๆได้อีก ตามประสบการณ์นักรบ เช่น

  • จากนักทำเอสอีโอสู่นักการตลาดเสิร์ชเอนจิน Search Engine Marketer ที่ดูแลทั้งการลงโฆษณา Google Ads และ SEO
  • จากนักทำเอสอีโอสู่อาชีพ SEO manager/project manager ขยับขึ้นเป็นหัวหน้าโปรเจท
  • จากนักทำเอสอีโอสู่อาชีพ SEO Consultant ที่ปรึกษาการทำเอสอีโอ
  • จากนักทำเอสอีโอสู่อาชีพ SEO Analyst นักวิเคราะห์และแก้ไข วางแผนการทำเอสอีโอโดยเฉพาะ
  • จากนักทำเอสอีโอสู่อาชีพเจ้าของกิจการขายของออนไลน์ นักรบเคยทำร่วมกับเซลล์โรงงานทำยอดจากออนไลน์ได้มากกว่า 15 ล้าน/ปี ด้วยการตลาดทาง SEO เป็นหลักเลย
  • จากนักทำเอสอีโอสู่อาชีพ Content Writer/Creative นักผลิตคอนเทนต์ทั้งด้านบทความ งานเขียน ที่เน้นทำ Content Marketing เป็นหลัก

นอกจากนั้นความรู้ด้านเอสอีโอยังเป็นคุณสมบัติที่พิเศษในอาชีพอื่นๆ ช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการมองเห็นของคอนเทนต์อย่างออร์แกนิค เช่นในอาชีพ Digital marketer, Video YouTuber

อาจจะมีอาชีพอื่นอีกที่ยังไม่ได้พูดถึงเพราะภาพยังไม่ชัด แต่เนื่องด้วยการทำเอสอีโอจะรู้หลายๆด้านในส่วน Digital & Content Marketing ทำให้ต่อยอดสายอาชีพอื่นได้อีกครับ

ข้อดี-เสียของการเป็น SEO Specialist ประจำเทียบกับฟรีแลนซ์

นักรบเคยเป็น SEO Specialist ในบริษัทเอกชนมากก่อน รู้ข้อดี-เสียของอาชีพนี้พอสมควร และจะเปรียบเทียบให้เห็นว่าต่างจากฟรีแลนซ์อย่างไร การแชร์ประสบการณ์จะมีข้อคิดเห็นและการตัดสินใจส่วนตัวแทรกเข้าไปด้วยนะครับ ลองไปศึกษาดูครับ

ข้อดี

ส่วนใหญ่เหมือนงานประจำ เช่น

  • มีข้อดีเหมือนพนักงานประจำปรกติทั่วไป คือ จะมีสวัสดิการรัฐประกันสังคมมาตรา 33 ที่ดีกว่าการเป็นฟรีแลนซ์ เช่น ลาออก โดนไล่ออก มีเงินชดเชย, ค่ารักษาพื้นฐานทั่วไป, มีค่าคลอด ค่าเลี้ยงดูลูก อื่นๆ
  • มีวันหยุดวันลา และเวลาทำงานที่แน่นอนกว่าฟรีแลนซ์
  • มีรายได้สม่ำเสมอ ช่วยสร้างเครดิตการซื้อรถซื้อบ้านได้ง่ายกว่าฟรีแลนซ์
  • อาจมีโบนัสปลายปี เฉพาะบางบริษัท

ข้อเสีย

  • เรื่องเวลาทำงานถูกกำหนดโดยบริษัท และไม่ยึดหยุ่นเท่าฟรีแลนซ์ การทำงานล่วงเวลาอาจไม่ได้โอทีเสมอไปทุกบริษัท
  • วันหยุด-ลา-มา-สาย มีจำกัดและถูกกำหนดโดยผู้อื่น และอาจถูกหักเงินในบางบริษัท
  • รายได้โตตามโครงสร้างบริษัท โดยถูกกำหนดโดยผู้อื่น และอาจมีปรับเงินเดือนเฉลี่ยปีล่ะ 1-2 ครั้ง
  • หากเจอเพื่อนร่วมงาน หัวหน้าหรือลูกค้าไม่ดี ต้องอดทนทำงานให้ผ่านไปได้

ความคิดเห็นโดยนักรบ

ทุกงานมีข้อเสียหมด หากแก้ไขข้อเสียในบ้างข้อได้จะช่วยให้ทำงานได้ง่ายและมีความสุขขึ้น เช่น นักรบจะเลือกทำงานฟรีแลนซ์พาร์ทไทม์คู่งานประจำ หากงานประจำไม่มีความสุขพอก็สามารถเปลี่ยนงานได้ง่าย เพราะมีรายได้รองรับอีกทางหรือจะผันตัวเป็นฟูลไทม์ฟรีแลนซ์ก็ได้ครับ

ประสบการณ์ Freelance SEO Expert รายได้เกิน 1.2 ล้านต่อปี

นี้เป็นประสบการณ์นักรบเอง ถ้าทำในงานประจำเงินเดือนคนไทย มันยากมากที่จะมีบริษัทจ้างเกิน 1 แสนต่อเดือน (ยกเว้นในต่างประเทศที่ได้เยอะมาก แต่ต้องเก่งภาษาก่อน) แต่ในเส้นทางฟรีแลนซ์นักรบได้เฉลี่ยเกิน 1 แสนต่อเดือน หรือ 1.2 ล้านต่อปีได้จากการทำฟรีแลนซ์ โดยนักรบเล่าไว้แล้วที่บทความ Freelance seo Expert รายได้ 1.2 ล้าน/ปี ในเวลา 3 ปี ในบทความจะบอกหลายเรื่อง เช่น งานนี้เหมาะกับคนแบบไหน, พื้นฐานทักษะของอาชีพนี้ซึ่งมีเนื้อหากว้างกว่าการทำงานประจำ, เส้นทางการทำการตลาดให้ฟรีแลนซ์และวิธีเริ่มต้นครับ หากสนใจลองเข้าไปอ่านได้

ขั้นตอนการรับทำ SEO ฉบับย่อแบบนักรบ

การรับทำ SEO แบบนักรบจะมี 5 ขั้นตอนหยาบๆจำง่ายๆ เท่านี้ครับ

  1. Keyword Reseach
  2. Onpage SEO
  3. Offpage SEO
  4. SEO Analysis
  5. Report

โดยนักรบจะสอนขั้นตอนการทำ SEO ต่างๆนี้ผ่าน SEO Tools เช่น Yoast, Rankmath, Ubersuggest, Ahrefs และ SEO Extensions for Google Chrome ต่างๆ

แต่ถ้าจะลงละเอียดขั้นตอนให้ลึกขึ้น ถึงแนวทางการทำจริงๆจังๆจะแบ่งย่อยให้มากขึ้นเป็น 11 ขั้นตอนแทนแบบด้านล่างนี้ครับ ตามเครื่องมือ WarriorSEO Tools ซึ่งสอนเฉพาะการเรียนแบบ In-house Training หรือ 1:1 ครับ

  1. Rank Tracking
  2. Keyword Research
  3. SEO Site Audit
  4. Landing Page Optimize
  5. Link Building
  6. Traffic Analysis
  7. Google Business Profile
  8. Social Analysis
  9. Competitor Analysis
  10. SEO Progress Note
  11. SEO Report

รอการเขียนต่อครับ….

คำศัพท์ที่เกี่ยวกับการทำ SEO

คำศัพท์นี้เขียนจากประสบการณ์การทำเอสอีโอตามความเข้าใจของนักรบเอง คุณควรศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นหรือลงมือทำด้วยเพื่อจะได้เข้าใจมากขึ้นในแบบของตัวเองครับ

  • Backlink Analysis คือ  การวิเคราะห์ภาพรวมของ Backlink 
  • Competitor Analysis คือ การวิเคราะห์คู่แข่งที่ทำ SEO โดยนักรบจะมีเครื่องมือในการติดตามคู่แข่งอีกด้วย
  • Content Marketing คือ การทำการตลาดด้วยการสร้าง Content สม่ำเสมอ ในเรื่องที่ลูกค้าค้นหาข้อมูลหรือสนใจรับรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ
  • Content Readability คือ ความสะดวกในการอ่านคอนเทนต์  เช่น มีการเว้นวรรค มีการเขียนเนื้อหาไม่ติดยาวจนเกินไป มีการแบ่งพารากราฟ มีการใช้ Heading มีการใช้คำเชื่อม ตัวอักษรไม่เล็กเกินไป มีภาพประกอบ เป็นต้น
    * คำนี้ค้นพบใน Yoast SEO Plugin ครับ
  • Google Business Analysis คือ การวิเคราะห์การทำ Google my Business ที่ส่งผลต่อการทำ Local SEO
  • HTTPS คือ การเพิ่ม Security ให้กับ HTTP กลายเป็น HTTPS โดยบริการนี้สามารถขอได้ฟรีจากบาง Hosting ที่ท่านใช้อยู่ครับ
  • Keyword placement คือ การวางคีย์เวิร์ดในตำแหน่งต่างๆที่ส่งผลกับการทำเอสอีโอ เช่น ตำแหน่งใน Title, Description, H1, Img alt เป็นต้น
  • Keyword Reseach คือ การค้นหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่จะทำเอสอีโอ นักรบนิยมใช้ Ubersuggest, Keyword Planner(Google ),  Keyword Explorer(Ahref), Search console, Keywordtools
  • Landing Page Optimize คือ การปรับแต่งหน้าเวบที่ต้องการทำ SEO
  • Image Optimize คือ การปรับแต่งภาพให้รองรับการทำ SEO เช่น Image Title, Image name, Image alt ให้มี Keyword แสดงอยู่ และปรับขนาดไฟล์ให้เล็กสำหรับแสดงบนเวบเพื่อโหลดได้เร็ว จนถึงขั้นสูงเช่นการใช้นามสกุลไฟล์แบบ WebP เป็นต้น
  • On-page SEO คือ การทำ SEO ที่มุ่งเน้นปัจจัยที่ที่อยู่บนเว็บไซต์ตัวเองเป็นหลัก
  • Off-page SEO คือ การทำ SEO ที่มุ่งเน้นปัจจัยที่อยู่ภายนอกเวบไซต์ตัวเองเป็นหลัก เช่น Backlink , Social media
  • Personal Branding คือ การสร้างแบรนด์บุคคล ซึ่งแตกกต่างจากการสร้างแบรนด์บริษัท (Corporate Branding) และการสร้าง Personal Brand ยังต่อยอดไปสู่การเป็น Influencer ได้อีกด้วย
  • Rank Tracking คือ การเช็คอันดับคีย์เวิร์ดต่างๆในหน้าผลการค้นหาของกูเกิลเสิร์จ โดยจะเริ่มเช็คตั้งแต่ก่อนทำ SEO และจะเช็คเป็นระยะ ปรกตินักรบจะเช็คเป็นรายอาทิตย์และดูแน้วโน้มอันดับเพื่อวิเคราะห์ปรับปรุงต่อไปได้
  • SEO Analysis คือ การวิเคราะห์ในขั้นตอนการทำ SEO เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ให้ดีขึ้น หรือค้นหาแผนการทำเอสอีโอใหม่ๆ
  • SEO Progress Note คือ การจดบันทึกการทำ SEO ของเราในขั้นตอนสำคัญ เช่น การเปลี่ยนโครงสร้างเว็บไซต์ หรือ การปรับตาม Google algorithm ต่างๆแล้วมีผลดีหรือลบตามมา
  • SEO Report คือ รายงานที่เราส่งให้ลูกค้า พร้อมคำอธิบายสั้นๆ ถึงผลลัพธ์การทำเอสอีโอตามช่วงเวลา เช่น รายงานประจำเดือน, รายงานประจำ 3 เดือน เป็นต้น
  • SEO Site Analysis คือ การวิเคราะห์ภาพรวมของเว็บที่จะทำ SEO
  • Site Structure คือ โครงสร้างของเว็บไซต์ โดยมักจะออกแบบเป็น Category แบ่งเป็นห้องๆตาม Folder ต่างๆภายในเวบ
  • Social Analysis คือ การวิเคราะห์ช่องทางโซเชียลที่ส่งผลต่อการทำ SEO โดยเฉพาะเรื่อง Traffic, Citation & Authority
  • Traffic Analysis คือ การวิเคราะห์จำนวนคนเข้าเว็บไซต์ในทุกช่องทาง

Reference : แหล่งอ้างอิงเนื้อหาบางส่วน

ทีมนักรบค้นคว้าและอ้างอิงเนื้อหาจากเวบระดับโลกด้านล่างนี้ เพื่อจะได้มีเนื้อหาครอบคลุมให้มากที่สุดอันเป็นประโยชน์กับผู้อ่านเองครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Welcome Back!

Login to your account below

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Add New Playlist

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า